วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

สีและพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์

สีและพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์
(จากภาพจิตรกรรมไทยของ นายอมร ศรีพจนารถ)

หมวดสี
สีเบญจรงค์ เป็นสีซึ่งหมายถึงการสอดสลับสีเพียง 5 สี ทั้งนี้ท่านหมายถึงสีขาว เหลือง แดง เขียว ดำ เมื่อทั้ง 5 สีนี้สลับแสงทอกันจึงเรียกว่า “ สีเบญจรงค์ “
สีฉัพพรรณรังสี หมายถึงสี 6 ประการมีสีขาว เหลือง เขียว แดง น้ำเงินแก่ หงสบาท ทั้ง 6 สีนี้ประสานให้สลับกลืนกันทุกๆ สี จะเป็นสีรุ้ง ซึ่งนักดาราศาสตร์หมายความว่าเป็นสีในดวงอาทิตย์
สีเหลื่อมประภัสสร สีเป็นเงาเหลืองเลื่อมพราย มีสีประสมกันดังนี้ คือ คราม เหลือง แดง ขาว(นิดหน่อย)
สีนพเก้า ซึ่งหมายถึงสีแก้วเก้าประการ (นพรัตน์) นับตามลำดับดังนี้ คือ
1. สีขาวผ่อง ได้แก่ เพชร
2. สีแดงสด ได้แก่ ทับทิม
3. สีเขียวสด ได้แก่ มรกต
4. สีเหลืองสด ได้แก่ บุษราคัม
5. สีแดงแก่ ได้แก่ โกเมน
6. สีครามหรือน้ำเงินแก่ ได้แก่ นิล
7. ไข่มุกด์ ได้แก่ มุกดา
8. หงสบาท ได้แก่ เพทาย
9. สีเหลือง ขาว แดง ดำ เจือปนกัน ได้แก่ ไพฑูรย์
สีที่เป็นแม่สี ขาวผ่อง เหลืองณรงค์ เขียวใบแค แดงชาด แดงเสน ดินแดง คราม
(น้ำเงิน) ดำหมึก ดำน้ำรัก

ประเภทสีผสม

1. หงสบาท ได้แก่ ขาว แดงเสน เหลือง
2. หงชาด ได้แก่ ขาว แดงชาด
3. หงเสน ได้แก่ ขาว แดงเสน
4. หงดิน ได้แก่ ขาว ดินแดง
5. แดงลิ้นจี่ ได้แก่ แดงชาด คราม (นิดหน่อย)

-2-

6. มอคราม ได้แก่ ขาว คราม
7. ม่วงคราม ได้แก่ คราม แดงชาด
8. ม่วงชาด ได้แก่ ขาว แดงชาด คราม
9. มอหมึก ได้แก่ ขาว ดำ
10. มอมืด ได้แก่ คราม ดำ ขาว (นิดหน่อย)
11. หมอก ได้แก่ ขาว คราม ดำ (นิดหน่อย)
12. เทา ได้แก่ ขาว ดำ แดง (นิดหน่อย)
13. นวลเทา ได้แก่ ขาว เหลือง ดำ (นิดหน่อย)
14. ฟ้า ได้แก่ ขาว เขียว คราม
15. ก้ามปูอสุรา ได้แก่ แดงชาด เหลือง ขาว (นิดหน่อย)
16. เหลืองแก่ ได้แก่ เหลือง แดงเสน (นิดหน่อย)
17. นวลจันทร์ ได้แก่ ขาว เหลือง
18. ไพล ได้แก่ เหลือง คราม (นิดหน่อย)
19. เขียวขาบ ได้แก่ เขียว คราม ขาว(นิดหน่อย)
20. เขียวก้านมะลิ ได้แก่ เขียว ขาว
21. เขียวก้านตอง ได้แก่ เขียว เหลือง ขาว(นิดหน่อย)
22. เขียวแก่ ได้แก่ เขียว คราม ดำ
23. น้ำตาล ได้แก่ เหลือง ดินแดง ดำ
24. อิฐ ได้แก่ แดงเสน ดำ (นิดหน่อย)
25. หม้อใหม่ ได้แก่ แดงเสน เหลือง ขาว (นิดหน่อย)
26. เลื่อมประภัสสร ได้แก่ คราม เหลือง แดง ขาว(นิดหน่อย)
27. สัมฤทธิ์ ได้แก่ คราม เหลือง ดำ แดง ขาว
28. หมากสุก (ถ้าเจือเขียวเป็นแสด) ได้แก่ เหลือง แดงเสน เขียว


*******************





-3-

พงศ์นารายณ์ที่เป็นวงศ์กษัตริย์ในกรุงอโยธยา

ท้าวอโนมาตัน กายสีขาว 1 พักตร์ 4 กร มงกุฎน้ำเต้า บุตรพระนารายณ์ นางมณีเกสร เป็นมเหสี มีกายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์
ท้าวอัชบาล กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้า บุตรท้าวอโนมาตัน นางเทพ
อัปสรเป็นมเหสี มีกายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์
ท้าวทศรถ กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน (ยอดแหลม)
บุตรท้าวอัชบาล มีมเหสีดังนี้
1. นางเกาสุริยา กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ มารดาพระราม
2. นางไกยเกษี กาย สีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ มารดาพระพรต
3. นางสมุทรเทวี กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์
มารดาพระลักษณ์และพระสัตรุด
พระราม กายสีเขียวนวล 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน เมื่อแสดงฤทธิ์จึงเห็น
เป็น 4 กร ทรงอาวุธ ตรี คธา จักรและสังข์ มีมเหสีชื่อนางสีดา
สี นวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์
พระมงกุฎ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร ไว้จุก ทรงม้าขาวล้วน บุตรพระรามกับนาง
สีดา
พระลบ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร ไว้จุก ทรงม้าดำล้วน ฤษีชุบเป็นบุตรบุญธรรม
นางสีดา
พระพรต (จักร) กายสีแดงชาด 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน บุตรท้าวทศรถ
พระลักษณ์ (บัลลังก์และสงข์) กายสีเหลืองทอง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน
บุตรท้าวทศรถ
พระสัตรุด (คธา) กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน บุตรท้าวทศรถ
สุมันตัน กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร หมวกทรงประพาส เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่

กษัตริย์ต่างเมือง
ท้าวโรมพัตตัน กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร ชฎายอดแหลม เจ้าเมืองพัทวิไสย
นางอรุณเป็นมเหสี มีกายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์
นางอรุณวดีเป็นบุตรี กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์

-4-

ท้าวไกยเกษ กายสีหงเสนอ่อน 1 พักตร์ 2 กร ชฎายอดแหลม เจ้าเมืองไกยเกษ
นางเกษนีเป็นมเหสี มงกุฎกษัตรีย์ นางไกยเกษี เป็นบุตรี
ท้าวชนกจักรวรรดิ กายสีหงดินอ่อน 1 พักตร์ 2 กร ชฎายอดแหลม เจ้าเมืองมิถิลา
นางรัตนมณีเป็นมเหสี กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์
นางสีดาเป็นบุตรีบุญธรรม
ขุขันหรือกุขัน กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร โพกผ้า เป็นพรานป่า ครองเมืองบุรีรัม

มเหสักขเทวราช

พระอิศวร กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดน้ำเต้ากาบ ทรงตรีศูล
พระอุมาภควดีเป็นมเหสี กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์
พระขันธกุมาร กายสีทอง 6 พักตร์ 12 กร มงกุฎน้ำเต้าเฟือง บุตรพระอิศวร
พระพิฆเนศ กายสีสัมฤทธิ์ พักตร์เป็นช้าง 4 กร ทรงวชิร งาหัก กะโหลก
ใส่น้ำมนต์ เชือกบาศ มงกุฎน้ำเต้าเฟือง บุตรพระอิศวร
พระพินาย เช่นเดียวกับพระพิฆเนศ
พระนารายณ์ กายสีดอกตะแบก 1 พักตร์ 4 กร ทรง ตรี คทา จักร สังข์
มงกุฎยอดเดินหน พระลักษมีเป็นมเหสี
พระพรหมธาดา กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร มงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด ทรง ช้อน ลูกประคำ
คณโฑ คัมภีร์พระเวทย์ พระสุรัสวดีเป็นมเหสี
พระอินทร์ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน ทรงวชิร จักร พระขรรค์
นางสุจิตรา นางสุชาดา นางสุธรรมา นางสุนันทาเป็นมเหสี
พระมาตุลี กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม เป็นสารถีของพระอินทร์
ลงมาช่วยขับรถให้พระรามคราวศึกกรุงลงกา
พระเวสสุญาณ กายสีเหลือง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม เทพบุตรในคณะ
พระอินทร์ บางแห่งว่าในคณะพระอิศวร ไปเกิดเป็นพิเภก
พระวิสสุกรรม กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้า บางแห่งว่าไม่มีมงกุฎ
เป็นเทพทางช่าง
พระอรชุน กายสีทอง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน
พระอาทิตย์ กายสีแดง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้าหรือเทริดน้ำเต้า
พระจันทร์ กายสีนวลหรือขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้าหรือเทริดน้ำเต้า
-5-

พระอังคาร กายสีชมพู 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้าหรือเทริดน้ำเต้า
พระพุธ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร โพกผ้าแบบฤาษี
พระพฤหัสบดี กายสีเหลือง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดบวช
พระศุกร์ กายสีเลื่อมประภัสสร 1 พักตร์ 2 กร โพกผ้าแบบฤาษี
พระเสาร์ กายสีดำ 1 พักตร์ 2 กร เทริดมุ่นมวยผมมีปิ่นปัก
พระราหู กายสีม่วง 1 พักตร์ 2 กร เทริดมุ่นมวยผมมีปิ่นปัก
พระเกตุ กายสีทอง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน
พระพาย กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน เทพเจ้าแห่งลม
บิดาหนุมาน
พระเพลิง กายสีหงสบาท 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเปลวเพลิงหรือมงกุฎเดินหน
เทพเจ้าแห่งไฟ
พระกาล กายสีน้ำรัก 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน บิดานิลพัท
พระไพศรพณ์ กายสีเลื่อมเหลือง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน เจ้าแห่งธัญญชาติ
บางแห่งเรียกว่า พระ พนัสบดี
พระสมุทร กายสีน้ำไหล 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน เทพเจ้าแห่งทะเล
พระหิมพานต์ กายสีหงชาด บางแห่งว่า สีบัวโรย 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน
เทพเจ้าป่าหิมพานต์
พระพิรุณ กายสีเมฆมอ 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน เทพเจ้าแห่งฝน
พระมหาชัย กายสีเหลือง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน เทพเจ้าแห่งชัยชนะ
พระวิรุฬหก กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน
พระวิรุฬปักษ์ กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน
พระประคนธรรพ์ กายสีหงเสน(อิฐอ่อน) 1 พักตร์ 2 กร หน้ามนุษย์ มงกุฎน้ำเต้า ลายตัว
เป็นวงทักษิณาวัฎ เป็นเทพคนธรรพ์
นางมณีเมขลา กายสีเมฆมอ มงกุฎกษัตรีย์ มีดวงแก้ววิเศษ นางฟ้าเจ้าแม่มหาสมุทร
เทพอมาตย์
จิตตุบท กายสีหงชาด 1 พักตร์ 2 กร ไม่มีมงกุฎ เทพอมาตย์แห่งพระอิศวร
จิตตุบาท กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร ไม่มีมงกุฎ เทพอมาตย์แห่งพระอิศวร
จิตตุราช กายสีทอง 1 พักตร์ 2 กร ไม่มีมงกุฎ เทพอมาตย์แห่งพระอิศวร
จิตตุเสน กายสีเสน 1 พักตร์ 2 กร ไม่มีมงกุฎ เทพอมาตย์แห่งพระอิศวร
-6-

ฤษี
ผู้สำเร็จมีจำนวน 33 คน กับทศกัณฐ์แปลงอีก 3 ชื่อ รวมเป็น 36 ชื่อ คือ
ก. ผู้มีส่วนในการสร้างกรุงอยุธยา
1. อจนคาวี 2. ยุคอักระ 3. ทหะ 4. ยาคะ รวม 4 ตน
ข. ผู้ชุบนางมณโฑ
1. โรมสิงห์หรือมหาโรมสิงห์ 2. วตันตะหรืออตันตะ 3. วชิร
4. วิสุทัสหรือวิสูตร หรือวิสูตรสี รวม 4 ตน
ค. ผู้ชุบนางกาลอัจนา
1. โคดม รวม 1 คน
ฆ. ผู้ทำพิธีหุงข้าวทิพย์
1. กไลโกฎ 2. ภารัทวาช 3. วัชอัคคี 4.วสิษฐ์ 5. สวามิตร รวม 5 ตน
ง. ที่พระรามพบเมื่อเดินดง
1. สุทรรศน์ 2. สุไขหรือศุภไขดาบสินี 3. อังคตหรืออรรคต 4. สรภังค์
รวม 4 ตน
จ. ผู้วิเศษอยู่แดนมิถิลา
1. สุธามันตัน รวม 1 ตน
ฉ. ผู้วิเศษอยู่แดนขีดขิน
1. อังคต รวม 1 ตน
ช. ผู้วิเศษอยู่แดนลงกา
1. นารภ 2. โคบุตร 3. กาล รวม 3 ตน
ซ. ผู้วิเศษอยู่เขาตรีกูฎ
1. สุเมธ 2. อมรเมศ 3. ปรเมศ รวม 3 ตน
ฌ. ผู้วิเศษอยู่เชิงเขามรกต
1. ทิศไพ รวม 1 ตน
ญ. ผู้วิเศษอยู่เชิงเขาไกรลาศ
1. คาวิน 2. สุขวัฒน รวม 2 ตน
ฎ. ผู้วิเศษอยู่แดนไกยเกษ
1. โควินท์ รวม 1 ตน
ฏ. ผู้วิเศษอยู่ป่ากาลวาต
1. วัชมฤค รวม 1 ตน
-7-

ฐ. ที่หนุมานพบเมื่อไปถวายแหวน
1. ชฎิล 2. นารท (ตนที่ 1 ช.?) รวม 2 ตน
ฑ. ที่ทศกัณฐ์แปลง
1. สุธรรม (เมื่อไปลักนางสีดา ) 2. กาล (เมื่ออยู่เขาคันธมาทน์) 3. สิทธิโคดม
(เมื่อไปหาพระรามในค่าย รวม 3 ชื่อ

พระยาปักษาชาติ พระยานาค
พญาสุบรรณ กายสีหงเสน พาหนะของพระนารายณ์ พระยาอนันตนาคราช กายสีทอง
พญานกสัมพาที กายสีแดงชาด(พี่) ลูกพระยาสุบรรณ พระยากาลนาคราช กายสีดำ
พญานกสดายุ กายสีเขียว(น้อง) ลูกพระยาสุบรรณ พระยาทัณฑนาคราช กายสีขาว
พระยากำพลนาคราช กายสีหงดิน
พระยาวิรุฬนาคราช กายสีขาว

พรหมพงศ์ในกรุงลงกา

ท้าวจตุรพักตร์ กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร รูปสันฐานเป็นพรหม น้องท้าวมาลีวราช
ต้นวงศ์เจ้ากรุงลงกา มีมเหสีชื่อ นางมลิกา กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์
ท้าวลัสเตียน กายสีขาว 1 พักตร์ 4 กร ปากแสยะ ตาโพลง มงกุฎน้ำเต้าเฟือง
ยอดสบัด มีมเหสี 5 พระองค์ดังนี้
1. นางศรีสุนันทา กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ มารดากุเปรัน
2. นางจิตมาลี กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์มารดาทัพนาสูรหรือเทพาสูร
3. นางสุวรรณมาลัย กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ มารดาอัศธาดา
4. นางวรประไภ กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ มารดามารัน
5. นางรัชฎา กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ มารดาทศกัณฐ์
กุมภกรรณ พิเภก พญาขร พญาฑูษณ์ ตรีเศียร นางสำมนักขา
ท้าวกุเปรัน กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากแสยะ ตาโพลง
บุตรลัสเตียน อาวุธกระบอง ได้บุษบกแก้ว ครองเมืองกาลจักร
ทัพนาสูรหรือเทพาสูร กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎสามกลีบ ปากแสยะ
ตาโพลง บุตรลัสเตียน อาวุธ ศร กระบอง ครองเมืองจักรวาล

-8-

อัศธาดา กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร มงกุฎชัย 4 ยอด ปากแสยะ ตาโพลง
บุตรลัสเตียน อาวุธ ศร จักร กระบอก ครองเมืองวัทกัน
มารัน กายสีทอง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎหางไก่ ปากแสยะ ตาโพลง
บุตรลัสเตียน อาวุธ ศร กระบอก ครองเมืองโสฬศ
ทศกัณฐ์ กายสีเขียว 10 พักตร์ 20 กร มงกุฎชัย (หน้า 3 ชั้น ชั้นบนเป็น
หน้าพรหม ) ปากแสยะ ตาโพลง บุตรลัสเตียน อาวุธครบมือ
ครองกรุงลงกา สืบต่อจากท้าวลัสเตียน มีมเหสี 2 พระองค์ คือ
1. นางมณโฑ กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ มารดาอินทรชิต
นางสีดา ไพนาสุริยวงศ์หรือทศพิน
2. นางกาลอัคคี กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ มารดาบรรลัยกัลป์
กุมภกรรณ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้าไม่มีมงกุฎ ปากแสยะ
ตาโพลง บุตรลัสเตียน อาวุธ กระบอง หอกโมกขศักดิ์ ศร อุปราช
กรุงลงกา มีชายาและสนมเอก ดังนี้
นางจันทวดี กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์เป็นชายา
นางคันธมาลี กายสีนวลจันทร์ สวมกระบังหน้าเป็นสนมเอก
พิเภก กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม ปากแสยะ ตาจรเข้
บุตรลัสเตียน อาวุธ กระบอง ศร (ถือออกรบ) เมื่อเสร็จศึกได้ครอง
กรุงลงกา มีนามว่า ท้าวทศคีรีวงศ์ มีมเหสีและบุตรี คือ
นางตรีชฎา กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์เป็นมเหสี
นางเบญกาย กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์เป็นบุตรี
พญาขร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎจีบ ปากขบ ตาจรเข้ บุตรลัสเตียน
อาวุธศร ครองเมืองโรมคัล มีมเหสีและบุตร คือ
นางรัชฎาสูร กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์เป็นมเหสี
มังกรกัณฐ์และแสงอาทิตย์เป็นบุตร
พญาทูษณ์ กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากขบ ตาจรเข้ บุตรลัสเตียน อาวุธหอก ครองกรุงจารึก มีบุตรชื่อ วิรุญจำบัง
ตรีเศียร กายสีขาว 3 พักตร์ 6 กร มงกุฎชัย 3 ยอด ปากแสยะ ตาจรเข้
บุตรลัสเตียน อาวุธศร ตรี จักร หอก ของ้าว กระบอง ครองเมือง
มัชวารี มีบุตรชื่อ ตรีเมฆ
นางสำมนักขา กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
-9-

บุตรลัสเตียน สามีชื่อ ชิวหา มีบุตรชื่อ กุมภกาศ วรณีสูร มีบุตรีชื่อ
อดูลปีศาจ อยู่ในกรุงลงกา
อินทรชิต กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎยอดเดินหน ปากขบ ตาโพลง
เขี้ยวคุด(ดอกมะลิ) บุตรทศกัณฐ์ อาวุธศร 3 เล่ม คือ พรหมาสตร์
นาคบาศ วิษณุปาณัม มีมเหสีและบุตร คือ
นางสุวรรณกันยุมา กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ ยามลิวัน
กันยุเวก เป็นบุตร
นางสีดา กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์เป็น บุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
พระชนกจักรวรรดิรับเป็นบุตรบุญธรรมอภิเษกกับพระราม
ไพนาสุริยวงศ์หรือทศพิน กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้ามีเกี้ยวรัดจุก
(ชฎาเด็ก) ปากขบ ตาโพลง เมื่อได้ครองกรุงลงกาสวมมงกุฎ
เช่นเดียวกับอินทรชิต บุตรทศกัณฐ์ อาวุธศรบรรลัยจักรวาล
บัลลัยกัลป์ กายสีแสด 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้าเฟือง ปากขบ ตาจรเข้ บุตร
ทศกัณฐ์กับนางกาลอัคคี อาวุธศร กระบอง
ทศคีรีวัน (พี่) กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกาบไผ่ ปากขบ ตาจรเข้
ปลายจมูกเป็นงวงช้าง บุตรทศกัณฐ์กับช้างพัง อาวุธศร บุตรบุญธรรม
ท้าวอัศกรรณมาราสูร เจ้ากรุงดุรัม ทรงม้าผ่านขาว
ทศคีรีธร (น้อง) สีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกาบไผ่ ปากขบ ตาจรเข้
ปลายจมูกเป็นงวงช้าง บุตรทศกัณฐ์กับช้างพัง อาวุธศร บุตรบุญธรรม
ท้าวอัศกรรณมาราสูร เจ้ากรุงดุรัม ทรงม้าผ่านดำ
นางสุพรรณมัจฉา กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ บุตรีทศกัณฐ์กับนางปลา กายท่อนบน
เป็นคนท่อนล่างเป็นปลา หนุมานเป็นสามี มัจฉานุเป็นบุตร
สหัสสกุมาร กุมารจำนวนพันตน บุตรทศกัณฐ์กับนางสนมพันคน หน้า 2 ชั้น
7 หน้า มงกุฎน้ำเต้ากลม สีกายต่างกันมิได้กำหนด
สิบรถ บุตรทศกัณฐ์กับนางสนม 10 คน สีกายและมงกุฎหน้าตา มิได้
กำหนด
นางเบญกาย กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ บุตรีพิเภกกับนางตรีชฎา หนุมานเป็น
สามี อสุรผัด เป็นบุตร
ยามลิวัน (พญาวันยุพักตร์) พี่ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร ชฎาเด็ก ( ภายหลัง
สวมมงกุฎอย่างบิดา) บุตรอินทรชิต ปากขบ ตาโพลง
-10-

กันยุเวก (พญากันนุชิต) น้อง กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร ชฎาเด็ก ( ภายหลัง
สวมมงกุฎอย่างบิดา) บุตรอินทรชิต ปากขบ ตาโพลง

อสุรพงศ์ในกรุงลงกา

นางกากนาสูร กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร หน้าเป็นยักษิณี ปากเป็นกา ตาจรเข้ สวม
กระบังหน้า อาวุธกระบอง
สวาหุ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎสามกลีบ ปากขบ ตาโพลง อาวุธ
กระบอง บุตรนางกากนาสูร
มารีศ กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎสามกลีบ ปากขบ ตาโพลง อาวุธ
กระบอง บุตรนางกากนาสูร
นางเจษฎา กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ มเหสีมารีศ
ชิวหา กายสีหงชาด 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้า ปากแสยะ ตาจรเข้
บุตรมารีศ นางสำมนักขาเป็นมเหสี
นนยวิก กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร ชฎาเด็กไว้จุก ปากขบ ตาโพลง อาวุธ
กระบอง บุตรมารีศ
วายุเวก กายสีมอคราม 1 พักตร์ 2 กร ชฎาเด็กไว้จุก ปากขบ ตาโพลง อาวุธ
กระบอง บุตรมารีศ
กุมภกาศ กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้า ปากขบ ตาจรเข้
อาวุธ กระบอง บุตรชิวหากับนางสำมนักขา
วรณีสูร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง อาวุธ
กระบอง บุตรชิวหากับนางสำมนักขา
นางอดูลปีศาจ กายสีแดงเสน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
อาวุธ กระบอง ปีศาจยักษิณี บุตรชิวหากับนางสำมนักขา

อำมาตย์และเสนายักษ์ในกรุงลงกา

มโหธร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม ปากแสยะ ตาโพลง
เปาวนาสูร กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม ปากแสยะ ตาโพลง
การุณราช กายสีหงเสน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
-11-

กาลสูร กายสีดำหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
นนทสูร กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
ภานุราช กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
อิทธิกาย กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
มหากาย กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
ไวยวาสูรหรือวรวาสูร กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
สุขาจาร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
กาลจักร กายสีหงเสน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
พัทกาล กายสีเหลืองแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
มหารณภพ กายสีน้ำไหล 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
รุทธกาล กายสีหงดินอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
โลทัน กายสีมอคราม 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
นนทยักษ์ กายสีขาบ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
รณศักดิ์ กายสีนวลจันทร์ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
รณสิทธิ์ กายสีดินแดง 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
ฤทธิกาสูรหรือเวรัม กายสีหงชาด 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
นนทการ กายสีม่วงชาด 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
เพชราวุธ กายสีขาวกระบัง 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
เพชราวี กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
สิทธิกาล กายสีแดงเสน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
นนทจิตร กายสีมอคราม 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
นนทไพรี กายสีมอหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
อสูรกัมปั่น กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
ตรีพลัม กายสีก้านตอง 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
ตรีเมฆมาลา กายสีมอเมฆ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
มหากาล กายสีก้ามปู 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
โชติวรรณ กายสีหงชาด 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
พัทกาวี กายสีเหลือง 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากขบ ตาโพลง
โรมจักร กายสีหงสบาท 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากขบ ตาโพลง

-12-

ไวยกาสูรหรือไวยไกรสูรหรือวรไกรสูร กายม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากขบ
ตาโพลง
ศุกสารณ์หรือสุกสาร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากขบ ตาโพลง
พัทกัน กายสีเหลืองอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากขบ ตาโพลง
มหิตัน กายสีม่วงครามอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากขบ ตาโพลง

อสูรนายกองตระเวนกรุงลงกา

กุมภาสูร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
กองตระเวนเฝ้าเขามรกต
วายุพักตร์ กายสีเมฆ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
รักษาริมฝั่งสมุทร
นางอากาศตะไล กายสีแดงเสน 4 พักตร์ 8 กร มงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด ปากแสยะ ตาโพลง
เสื้อเมืองลงการักษาตัวเมือง
ฤทธิกัน กายสีแดงชาด 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
รักษาด่านทางอากาศ
วิชุดา กายสีฟ้าแลบ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
รักษาริมฝั่งสมุทร
สารัณฑูต กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
คอยข่าวศึก
นางผีเสื้อสมุทร กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
รักษาด่านหลังมหาสมุทร

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในกรุงบาดาล

ท้าวสหมลิวัน กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร รูปเป็นพรหม ต้นกษัตริย์ในกรุงบาดาล
ท้าวศากยวงศามหายมยักษ์ กายสีแดงชาด 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎหางไก่ปากแสยะ ตาโพลง
นางจันทร์ประภาศรี กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ เป็นมเหสีท้าวมหายมยักษ์
นางพิรากวน กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ เป็นบุตรีของท้าวมหายมยักษ์กับ
นางจันทร์ประภาศรี
-13-

ไมยราพณ์ กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากขบ ตาจรเข้ อาวุธ
กล่องยาสะกด กระบอง หอก เป็นเป็นบุตรของท้าวมหายมยักษ์กับ
นางจันทร์ประภาศรี
ไวยวิกหรือวันยุวิก กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้าเฟือง ปากแสยะ ตาโพลง
อาวุธกระบอง เป็นบุตรของนางพิรากวน

เสนายักษ์ในกรุงบาดาล

จิตรการ กายสีมอหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
จิตรไพรี กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
มหากาย กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
มาจากลงกา
จิตรกูฎหรือจิตรกูล กายสีดำหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
นนทสูร กายสีเหลืองแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
ตรีพัทหรือตรีทัพ กายสีดินแดง 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
เมฆนาทหรือเมฆวัส กายสีเมฆ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองโรมคัล

พญาขร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎจีบ ปากขบ ตาจรเข้ เจ้าเมืองโรมคัล
อาวุธศรจักรพาลพัง
นางรัชฎาสูร กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ เป็นมเหสีพญาขร
มังกรกัณฐ์ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎนาค ปากขบ ตาจรเข้ อาวุธศร
เป็นบุตรพญาขรกับนางรัชฎาสูร
แสงอาทิตย์ กายสีแดงชาด 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากขบ ตาจรเข้ อาวุธศร
แว่นสุรกานต์ เป็นบุตรพญาขรกับนางรัชฎาสูร

เสนายักษ์ในเมืองโรมคัล

วิรุณจักร กายสีแดงเสน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
-14-

วิจิตรไพรี กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองจารึก

พญาฑูษณ์ กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากขบ ตาจรเข้ เจ้าเมือง
จารึก อาวุธหอก
วิรุญจำบัง กายสีมอหมึก 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎหางไก่ ปากขบ ตาจรเข้ มีม้าทรง
ชื่อนิลพาหุ ตัวดำปากแดง อาวุธ หอก กระบอง เป็นบุตรพญาฑูษณ์
วิรุญมุข กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร ชฎาเด็ก ปากขบ ตาโพลง อาวุธหอก
เป็นบุตรวิรุญจำบัง

เสนายักษ์ในเมืองจารึก

จิตกาสูร กายสีมอหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
นนทสูร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองมัชวารี

พญาตรีเศียร กายสีขาว 3 พักตร์ 6 กร มงกุฎชัย 3 ยอด ปากแสยะ ตาจรเข้
เจ้าเมืองมัชวารี อาวุธศร ตรี จักร หอก ข้อง้าว กระบอง
ตรีเมฆ กายสีหงดินแก่ 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎหางไหล ปากขบ ตาจรเข้
เป็นบุตรพญาตรีเศียร
วิรุณราช กายสีหงดินอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
เป็นเสนายักษ์

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองอัสดงค์

ท้าวสัทธาสูร กายสีหงเสน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎจีบ ปากขบ ตาจรเข้ เจ้าเมืองอัสดงค์
อาวุธศร กระบอง

-15-

นนทกาสูร กายสีหงชาด 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
เป็นเสนายักษ์

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองจักรวาล

ท้าวสัตลุง กายสีหงชาด 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎจีบ ปากขบ ตาจรเข้ เจ้าเมือง
จักรวาล อาวุธศร กระบอง
วิรุณกาสร กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
เป็นเสนายักษ์

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองมหาจักรวาล

ท้าวมหาบาลเพทาสูร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
เจ้าเมืองมหาจักรวาล อาวุธศร
นางมนทา กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ เป็นมเหสีท้าวมหาบาลเพทาสูร
นนทการหรือนนทสูร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
เป็นเสนายักษ์
ภัทรจักร กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
เป็นเสนายักษ์

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองดุรัม

ท้าวอัสกรรณมาลาสูรหรือหัสกรรณมาลสูรหรืออัชกรรณ กายสีม่วงแก่ 7 พักตร์ 2 กร
ชฎามนุษย์ยอดแหลม ปากขบ ตาจรเข้ บางแห่งว่า 7 พักตร์ 14 กร
หน้า 2 ชั้น ปากขบ ตาโพลง เจ้าเมืองดุรัม อาวุธศร ทศคีรีวัน ทศคีรีธร
เป็นบุตรบุญธรรม
กาลจักร กายสีขาบ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
เป็นเสนายักษ์
นิลกายสูร กายสีมอหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
เป็นเสนายักษ์
-16-

ไวยกาสูร กายสีมอครามแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ
ตาโพลง เป็นเสนายักษ์

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองปางตาล

ท้าวสหัสเดชะ กายสีขาว 1000 พักตร์ 2000 กร มงกุฎชัยหน้า 5 ชั้น ปากแสยะ
ตาโพลง อาวุธตระบองวิเศษต้นชี้ตายปลายชี้เป็น เจ้าเมืองปางตาล
มูลพลัม กายสีเขียว 4 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
อาวุธหอก อนุชาท้าวสหัสเดชะ อุปราชแห่งเมืองปางตาล

เสนายักษ์ในเมืองปางตาล

กาลจักร กายสีดอกผักตบ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
ตรีพลัม กายสีมอครามอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
อติกำ กายสีเหลืองอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
กาลสร กายสีหงดินแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
ไชยาสูร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้

อสูรพงศ์ในเมืองดิศศรีสิน

ท้าวคนธรรพ์นุราช กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร ชฎาลอมพอก ปากขบ ตาจรเข้ อาวุธศร
กระบอง เจ้าเมืองดิศศรีสิน
นางจันทาหรือนันทา กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ เป็นมเหสีท้าวคนธรรพ์นุราช
วิรุณพัท กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร ชฎามนุษย์ ปากขบ ตาโพลง อาวุธศร
เป็นบุตรท้าวคนธรรพ์นุราชกับนางจันทา

เสนายักษ์ในเมืองดิศศรีสิน

กุมภสูร กายสีหงสบาท 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
ตรีจักร กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
-17-

นนทการ กายสีขาบ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
พัทกาล กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
รณวุธ กายสีหงเสน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
ตรีกัน กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้

อสูรพงศ์ในเมืองกุรุราษฎร์

ท้าวไวยตาลหรือไวตาล กายสีครามอ่อน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากขบ ตาจรเข้
อาวุธตะบองตาลวิเศษ เจ้าเมืองกุรุราษฎร์ อยู่ในบาดาล

เสนายักษ์ในเมืองกุรุราษฎร์

รณภพ กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
วุฒิกาสูร กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
เวรัมหรือเวรำ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
ภัทรจักร กายสีหงชาด 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
รณพาล กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้

พรหมพงศ์และอสูรพงศ์ในเมืองมลิวัน

ท้าวจักรวรรดิ กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร หน้า 2 ชั้น มงกุฎหางไก่ ปากแสยะ
ตาโพลง บางแห่งว่า ปากแสยะ ตาจรเข้ เขี้ยวโง้งแหลม อาวุธศร จักร
และอื่น ๆ ครบทั้ง 8 กร เจ้าเมืองมลิวัน
นางวัชนีสูร กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ เป็นมเหสีท้าวจักรวรรดิ
สุริยาภพ กายสีแดงชาด 1 พักตร์ 2 กร ชฎามนุษย์เดินหน ปากขบ ตาโพลง
อาวุธหอกวิเศษชื่อเมฆพัท บุตรท้าวจักรวรรดิกับนางวัชนีสูร
บรรลัยจักร กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎหางไก่ ปากแสยะ ตาโพลง
อาวุธศรเหราพต จักรเมฆสูร บุตรท้าวจักรวรรดิกับนางวัชนีสูร
นนยุพักตร์ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม ปากแสยะ ตาโพลง
อาวุธศร บุตรท้าวจักรวรรดิกับนางวัชนีสูร
-18-

นางรัตนมาลี กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ บุตรท้าวจักรวรรดิกับนางวัชนีสูร

อำมาตย์และเสนายักษ์ในเมืองมลิวัน

สุพินสัน กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
วรไกรสูรหรือไวยกาสูรหรือไวยไกรสูร กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า
ปากแสยะ ตาโพลง
จิตรพัท กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
วิษณุราช กายสีม่วงดอกตะแบก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ
ตาจรเข้
อสุรเพตราหรืออสุรพักตร กายสีดำ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
กาลจักร กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
กุมภิล กายสีมอหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
ตรีกัน กายสีนวลจันทร์ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
ทินสูร กายสีแดงชาด 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
มารกบิล กายสีแดงเสน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
เมฆสูรหรือเมฆาสูร กายสีมอหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
นนทการ กายสีมอคราม 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
ตรีพัท กายสีเหลืองอ่อน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
ฤทธิศักดิ์ กายสีดินแดง 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
ฤทธิสูร กายสีดินเหลือง 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
นนทยักษ์ กายสีหงเสน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
นนทสูร กายสีหงชาด 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
นนทจักร กายสีบัวโรย 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
มหาเมฆ กายสีเมฆ(เทาแก่) 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
กาลวุธ กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
ตรีพาล กายสีเหลืองแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
มหากาล กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
จักรสูร กายสีขาบ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้

-19-

อสูรนายกองตระเวนเมืองมลิวัน

กาลสูร กายสีดำ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
รักษาด่านน้ำกรด
ราหู กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
รักษาด่านทางอากาศ
มัฆวาน กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง
รักษาด่านเพลิงกรด

อสูรพงศ์ในเมืองกาลวุธ

ท้าวกุเวรนุราช กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม ปากขบ ตาจรเข้ อาวุธ
ศร กระบอง เจ้าเมืองกาลวุธ
นางเกศินี กายสีขาว มงกุฎกษัตรีย์ เป็นมเหสีท้าวกุเวรนุราช
ตรีปักกัน กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากขบ ตาจรเข้ อาวุธศร
เป็นบุตรท้าวกุเวรนุราชกับนางเกศินี

เสนายักษ์ในเมืองกาลวุธ

กาลจักร กายสีมอหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
กาลสูร กายสีมอคราม 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
กาลวกหรือกาลวุธ กายสีดำหมึก 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาโพลง

อสูรพงศ์ในเมืองมหาสิงขร

ท้าวอนุราชหรืออุณาราช(ท้าวกกกะหนาก) กายสีจันทร์อ่อนว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากแสยะ ตาจรเข้ อาวุธศร เจ้าเมืองมหาสิงขร
นางรัตนา กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ เป็นมเหสีท้าวอนุราช
นางจันทวดีหรือประจัน กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ เป็นบุตรีท้าวอนุราชกับนางรัตนา

-20-

เสนายักษ์ในเมืองมหาสิงขร

นนทการ กายสีดินแดง 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
นนทยักษ์ กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
นนทจักร กายสีนวลจันทร์ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
ทินสูร กายสีเมฆ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง

อสูรพงศ์ในเมืองจักรวาล

ทัพนาสูรหรือเทพาสูร กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฏสามกลีบ ปากแสยะ ตาโพลง
เป็นเจ้าเมืองจักรวาล
วาณุราช กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง
เป็นอำมาตย์เมืองจักรวาล
จักราวุธ กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้
เป็นเสนา

อสูรพงศ์ต่างเมือง

ท้าวไพจิตราสูร กายสีขาว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม ปากแสยะ ตาโพลง
สัมพันธมิตรแห่งทศกัณฐ์ อาวุธศร
ตรีบูรัม กายสีดำหมึก 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลมรูปทรงปลี ปากแสยะ
ตาโพลง เจ้ากรุงโสฬศ หรือโสรนคร อาวุธกระบอง
ท้าววิรุฬหก กายสีขาบ 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎและเครื่องประดับกายล้วนเป็นนาค
อันมีพิษ ปากขบ ตาจรเข้ เจ้าเมืองมหาอันธการนครอยู่ใต้พื้นดิน
อสูรวายุภักษ์ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากาบ ปากแสยะ ตาจรเข้
(นกอินทรีย์หน้ายักษ์ครึ่งยักษ์ครึ่งนก) เจ้าเมืองวิเชียร อาวุธกระบอง

อสูรเทพบุตร

ท้าวมาลีวราช กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร มงกุฎน้ำเต้ากาบ 5 ยอด เป็นพรหมปู่ทศกัณฐ์
-21-

รามสูร กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกาบไผ่ ปากขบ ตาโพลง
อาวุธขวานเพชร
อสูรประโรต กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกาบไผ่ ปากขบ ตาจรเข้ อาวุธศร
พิราพหรือวิราธ กายสีม่วงแก่ 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้
ตัวเป็นลายวงทักษิณาวัฏ อาวุธหอก อยู่เชิงเขาอัศกรรณ มีสวนสำหรับ
เที่ยวเล่นปลูกพวาทอง(มะม่วง)
เหรันตฑูต กายสีม่วงอ่อน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎจีบ ปากแสยะ ตาโพลง อาวุธศร
อยู่เขาหิมพานต์
ปฑูตทันต์หรือปรทูตัน กายสีหงดิน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎจีบ ปากแสยะ ตาจรเข้ อาวุธ
ศร กระบอง อยู่ในถ้ำแก้วเขาสุรกานต์
อสูรพรหมหรืออสูรพักตร์ กายสีหงสบาท 4 พักตร์ 2 กร มงกุฎชัย ปากแสยะ ตาโพลง
อาวุธคทาเพชร อยู่เชิงเขาจักรวาล
หิรันตยักษ์ กายสีทอง 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎกนก ปากแสยะ ตาโพลง อาวุธ
กระบอง อยู่เขาจักรวาลในวิมานทิพย์ มีฤทธิ์มากถึงม้วนแผ่นดิน
นนทุก กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า หัวล้าน ปากแสยะ
ตาโพลงบางแห่งว่าตาจรเข้ ยักษ์รับใช้ล้างเท้าเทวดาผู้ขึ้นไปเฝ้า
พระอิศวร ได้พรนิ้วเพชรชี้ถูกผู้ใดต้องตาย

อสูรที่ต้องสาป
ปักหลั่น กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาจรเข้ อาวุธ
กระบอง เดิมเป็นเทวดารับใช้ของพระอิศวร ทำชู้กับนางฟ้าถูกสาปให้
เฝ้าสระโบกธรณีชื่อ พันตา
กุมพลหรือกุมภัณท์ กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎน้ำเต้ากลม ปากแสยะ ตาจรเข้ เดิม
เป็นคนโปรดของพระอิศวรกำเริบใจไปลอบหยอกนางนิลมาลีผู้บำเรอ
พระองค์ ทรงกริ้วเอาจักรขว้างถูกตัวขาดครึ่งท่อนและทรงสาปให้ทน
ทุกข์ทรมานจนกว่าจะพบพระรามและบอกทิศทางให้ตามนางสีดาจึงจะ
พ้นสาป
อสูรนนทการ กายสีมอคราม 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากขบ ตาโพลง นาย
ทวารไกรลาศของพระอิศวร ถูกสาปให้เป็นทรพา (ควาย) ถูกทรพีซึ่ง
เป็นลูกฆ่าจึงพ้นคำสาป
-22-

กุมภัณท์นุราช กายสีแดงเสน 1 พักตร์ 2 กร มงกุฎจีบ ปากขบ ตาโพลง เดิมเป็น
เทวดาชื่อสุนนท์ พระอิศวรกริ้วเพราะหยอกนางรัชนี สาปให้ลงไปอยู่
ในถ้ำนพมาศ

นางฟ้าที่ต้องสาป

นางบุษมาลี กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ นางอัปสรผู้เป็นสื่อให้ท้าวตาวันเจ้าเมือง
มายันได้กับนางอัปสรชื่อรัมภา พระอิศวรกริ้วฆ่าท้าวตาวันตายทำให้
เมืองมายันร้างสาปให้นางบุษมาลีไปอยู่คนเดียว
นางวานรินทร์ กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ นางฟ้าผู้มีหน้าที่ตามประทีปท้องพระ
โรงแห่งพระอิศวร ครั้นไฟดับทรงตรัสเรียกหาตัว นางมิได้ไปจุดเพราะ
มัวคุยเพลินกับเพื่อนถูกสาปให้ไปอยู่เขาอังกาศหรืออากาศคีรี จนพบ
หนุมานและได้เป็นเมียจึงพ้นคำสาป
นางเสาวรี กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ นางอัปสรขาดเฝ้า ถูกพระอิศวรสาปอยู่
ยังป่าสาลวันและป่านั้นถูกไฟไหม้เรี่อยไปเพื่อทรมาน เมื่อใดพระราม
ออกเดินดงนำพระรามไปดับไฟป่าจึงพ้นคำสาป
นางสุวรรณมาลี กายสีนวลจันทร์ มงกุฎกษัตรีย์ นางอัปสรอยู่แถบฝังแม่น้ำมหานที
พระอิศวรตรัสให้ลงไปคอยบอกทางไปลงกาแก่หนุมานผู้ที่จะไปถวาย
แหวนแก่นางสีดา
อัศมูขี กายสีเขียว 1 พักตร์ 2 กร สวมกระบังหน้า ปากแสยะ ตาจรเข้ ส่วน
ปากยื่นคล้ายสัตว์ เป็นนางยักษิณี

วานรพงศ์เมืองขีดขิน

พาลี(พญากากาศพิริยะจุลจักร) กาย สีเขียว ปากอ้า ชฎายอดบัด(เดินหนพระอินทร์) เจ้ากรุง
ขีดขิน บุตรพระอินทร์กับนางกาลอัจนา
สุครีพ(พญาไวยวงศามหาสุรเดช) กายสีแดงเสน ปากอ้า ชฎายอดบัด(เดินหนพระอินทร์)
อุปราชเมืองขีดขิน บุตรพระอาทิตย์กับนางกาลอัจนา
หนุมาน(พญาอนุชิตจักรกฤษณ์พิพัทธพงศา) กายสีขาวผ่อง ปากอ้า สวมมาลัยทอง มีเขี้ยว
แก้วอยู่กลางเพดานปาก บุตรพระพายกับนางสวาหะ
-23-

องคต(พญาอินทรนุภาพศักดา) กายสีเขียว ปากหุบ มงกุฎสามกลีบ บุตรพาลีกับนางมณโฑชามพูวราช กายสีแดงชาด ปากอ้า มงกุฎชัย (บางทีเรียกนิลเกสร)
ชมพูพาน กายสีหงชาด ปากอ้า มงกุฎชัย (พระอิศวรชุบด้วยเหงื่อไคล) บุตรบุญ
ธรรมพาลี
มัจฉานุ(พญาหนุราช) กายสีขาวผ่อง ปากอ้า สวมมาลัยทอง หางเป็นปลาอย่างมารดา
ภายหลังพระรามตัดให้พ้นเพศปลา บุตรหนุมานกับนางสุพรรณมัจฉา
อสุรผัด กายสีขาว ปากอ้า สวมกระบังหน้า หน้าเป็นวานรอย่างบิดา ผมและ
กายเป็นยักษ์อย่างมารดา บุตรหนุมานกับนางเบญกาย

วานรสิบแปดมงกุฎเมืองขีดขิน

เกยูร กายสีม่วงชาดแก่ ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระวิรุฬหกเจ้าแห่งกุมภัณท์ แบ่งภาค
มายูร กายสีม่วงอ่อน ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระวิรูปักษ์เจ้าแห่งนาค แบ่งภาค
มาลุนทเกสร กายสีเมฆครามอ่อน ปากหุบ สวมมาลัยรักร้อย พระพฤหัสบดี แบ่งภาค
เกสรทมาลา กายสีเหลืองอ่อน ปากหุบ สวมมาลัยรักร้อย พระไพศรพณ์(พนัสบดี) แบ่งภาค
พิมลพานร กายสีดำหมึก ปากหุบ สวมมาลัยรักร้อย พระเสาร์ แบ่งภาค
ไชยามพวาน กายสีมอหมึกอ่อน ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระอิสาน แบ่งภาค (เชิญธง)
โกมุท กายสีดอกบัวโรย ปากหุบ สวมมาลัยรักร้อย พระหิมพานต์ แบ่งภาค
ไวยบุตร กายสีมอครามแก่ ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระพิรุณ แบ่งภาค
สัตพลี กายสีขาวผ่อง ปากหุบ สวมมาลัยรักร้อย พระจันทร์ แบ่งภาค
สุรเสน กายสีแสด ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระพุธ แบ่งภาค
สุรกานต์ กายสีเหลืองจำปา ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระมหาชัย(ชยันต์) แบ่งภาค

วานรพงศ์เมืองชมพู

ท้าวมหาชมพู กายสีขาบ ปากอ้า มงกุฎชัย เจ้าเมืองชมพู
นิลพัท(พญาอภัยพัทธวงศ์) กายสีน้ำรัก ปากอ้า สวมมาลัยทอง มีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดาน
ปากเช่นเดียวกับหนุมาน บุตรพระกาล อุปราชเมืองชมพู
นิลนนท์ กายสีหงสบาท ปากอ้า สวมมาลัยทอง บุตรพระเพลิง

-24-

วานรสิปแปดมงกุฎเมืองชมพู

กุมิตัน กายสีทอง ปากหุบ สวมมาลัยรักร้อย พระเกตุ แบ่งภาค
นิลเอก กายสีทองแดงแก่ ปากหุบ สวมมาลัยรักร้อย พระพินาย แบ่งภาค
นิลราช กายสีน้ำไหล ปากหุบ สวมมาลัยรักร้อย พระสมุทร แบ่งภาค
นิลปาสัน กายสีเลื่อมเหลือง ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระศุกร์ แบ่งภาค
นิลปานัน กายสีสัมฤทธิ์ ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระราหู แบ่งภาค
นิลขัน กายสีหงดินแก่ ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระพิเนศ แบ่งภาค
วิสันตราวี กายสีแดงลิ้นจี่ ปากอ้า สวมมาลัยรักร้อย พระอังคาร แบ่งภาค

วานรเตียวเพชรเมืองขีดขิน-ชมพู

มหัทวิกัน กายสีหงชาด ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียวแทนมงคล
พระจิตตุบท แบ่งภาค
โชติมุข กายสีก้ามปู ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียวแทนมงคล
พระจิตตุบาท แบ่งภาค
ปิงคลา กายสีเหลืองแก่ ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียวแทนมงคล
พระจิตตุราช แบ่งภาค
ทวิพัท กายสีแดงดอกชบา ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียวแทน
มงคล พระจิตตุเสน แบ่งภาค
วาหุโลม กายสีเหลืองเทา ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียวแทน
มงคล พระสันดุสิต แบ่งภาค
อุสุภศรรราม กายสีขาบ ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียวแทนมงคล
พระนนทรี แบ่งภาค
ญาณรสคนธ์ กายสีขาวกระบัง ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียวแทน
มงคล พระปัญจสิงขร แบ่งภาค
มากัญจวิก กายสีมอคราม ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียวแทนมงคล
พระภูมิ แบ่งภาค
นิลเกศีร กายสีแดงดั่งดอกโกมุท ปากหุบ สวมมาลัยผ้าทองตะบิดเป็นเกลียว
แทนมงคล พระวลาหก แบ่งภาค










1 ความคิดเห็น:

tadewisabino กล่าวว่า...

Bet365 casino review - JT Hub
In the new live dealer mode, you can play online 의왕 출장안마 Blackjack, Roulette, Poker, 의정부 출장샵 blackjack and more. There are various rules 안산 출장샵 and bonuses 정읍 출장샵 in 제주도 출장샵